🏥 10 วิธีดูแลผู้สูงอายุ 👵 “ติดบ้าน ติดเตียง” 🛏️ ในช่วงน้ำท่วม
🌧️ ในขณะนี้ หลายพื้นที่ทางภาคใต้ประสบภัยน้ำท่วมสูงหนักในหลายพื้นที่ กรมอนามัย ขอส่งหนึ่งในความห่วงใย สำหรับการดูแลสุขภาพของประชาชน กับ การเตรียมความพร้อมรับมือน้ำท่วมจึงเป็นเรื่องสำคัญ
🔸1. ติดตามข่าวสาร สถานการณ์น้ำท่วม อย่างใกล้ชิด
🔸2. ยกสิ่งของ ขึ้นชั้นบนหรือที่สูง หากอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ควรเตรียมกระสอบทราย เพื่อใช้อุดปิดช่องทางที่น้ำจะไหลเข้าบ้าน
🔸3. รู้หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน ของหน่วยงานท้องถิ่น ญาติ หรือ บุคคลใกล้ชิด
🔸4. เรียนรู้เส้นทางการอพยพ ไปที่ปลอดภัยและใกล้บ้านที่สุด ทำแผนที่บ้านผู้สูงอายุ
🔸5. เตรียมโทรศัพท์มือถือ สำเนาเอกสารสำคัญ น้ำดื่มสะอาด ยารักษาโรค และอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้พร้อม เช่น ไฟฉาย แว่นตา กระดิ่งหรือนกหวีด เผื่อสถานการณ์ฉุกเฉิน
🔸6. ดูแลสุขอนามัย ของตนเอง เช่น ล้างมือให้สะอาด สวมใส่เสื้อผ้าที่สะอาด ไม่อับชื้น นอนหลับพักผ่อน 7- 8 ชั่วโมงต่อวัน
🔸7. กินอาหารครบ 5 หมู่ ปรุงสุกใหม่ ย่อยง่ายและรสไม่จัด ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อยวันละ 8 แก้ว
🔸8. สำหรับอาหารบริจาค ให้สังเกตกลิ่น สี หากมีกลิ่น สีผิดปกติ เหม็นบูดเน่า ไม่ควรนำมาบริโภค กระป๋องหรือภาชนะบรรจุต้องปิดสนิท ไม่ปูดบวมเป็นสนิม และสังเกตวันหมดอายุ
🔸9. จัดเตรียมที่พักให้สะอาด และปลอดภัย เช่น ไม่มีน้ำท่วมขัง ไม่มีการรั่วของไฟฟ้า
🔸10. สร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เช่น การดูแลสุขภาพจิต การล้างมือให้สะอาด การจัดการขยะ/ส้วมเฉพาะกิจ
🏥คำแนะนำ สำหรับประชาชน หลังน้ำลดควรทำอย่างไร
🔸1. เริ่มทำความสะอาดที่พัก เมื่อน้ำลดถึงระดับข้อเท้า 🏠
🔸2. ตัดระบบไฟฟ้า ป้องกันไฟดูด ⚡
🔸3. เปิดประตู หน้าต่าง ระบายอากาศ 🚪🪟
🔸4. สวมอุปกรณ์ป้องกัน ในการทำความสะอาด 🧹🪣
🔸5. ระวังสัตว์มีพิษ ที่หลบอยู่ในบ้าน 🐍
🏥 กรมอนามัย ขออยู่เคียงข้างและห่วงใยสุขภาพ สุขอนามัย ของ ประชาชน และ ไม่หยุดส่งกำลังใจและความช่วยเหลือทุกรูปแบบ ให้กับผู้ประสบภัยน้ำท่วมขังทุกท่าน ❣️
💝 ขอให้ประชาชนทุกท่านปลอดภัย ทั้งจากภัยธรรมชาติ โรคแฝงที่ตามมากับน้ำ และ อันตรายจากสัตว์มีพิษและพาหะนำโรคต่าง ๆ ด้วยนะคะ 💖
📌กดติดตามข่าวสารสุขภาพของ Facebook กรมอนามัยได้ที่